บ้านทรงปั้นหยาโบราณ

บ้านทรงปั้นหยาโบราณ

บ้านทรงปั้นหยาโบราณ ที่นิยมกันทั่วโลก 

บ้านทรงปั้นหยาโบราณ

บ้านทรงปั้นหยาโบราณ แบบบ้านคุณภาพที่นิยมกันทั่วโลก  ทรงปั้นหยามีความสวยงามและเข้ากับสภาพอากาศของบ้านเรามากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วบ้านทรงปั้นหยาที่เรามักจะเห็นอยู่บ่อยๆ มักจะเป็นตามบ้านโครงการจัดสรรและบ้านเรือนปลูกสร้างทั่วไป เพราะว่าเป็นทรงยอดนิยมดูเป็นแพทเทิร์น มีความเป็นมาตรฐานสวยงามแบบคลาสสิก ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เช่นในโซนเอเชีย อย่างประเทศญี่ปุ่นรวมถึงจีนก็นิยมสร้างหลังคาทรงนี้เช่นกัน      

เรือนปั้นหยา เป็นเรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่ว มีคำทำทายเล่นระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ กล่าวถึงเรือนปั้นหยาว่า”เรือนปั้นหยา ทาสีเขียว เด็กคนเดียวนอนมุ้งขาว” คำเฉลยก็คือ”น้อยหน่า”

ผลน้อยหน่าเป็นเกล็ดเหมือนกระเบื้องมุงหลังคาปั้นหยา ทาสีเขียวคือผลไม้ชนิดนี้เปลือกสีเขียว เด็กคนเดียวคือเมล็ด นอนมุ้งขาวคือเนื้อน้อยหน่า สีขาวข้างในหุ้มเมล็ดอยู่ทุกเมล็ด เรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็น เรือนมะนิลา คือ บางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้วเปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลา(ซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา) 

เข้ามาสู่ความ นิยมอย่างแพร่หลาย อันตรงกับสมัยที่สถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง(Ginger Bread)แพร่หลายเข้ามาด้วย ลักษณะเรือนขนมปังขิงนี้เป็นชื่อเรียกสากลทับศัพท์ว่า”จินเจอร์ เบรด”อันมีที่มาจากขนมปังขิงสมัยโบราณของชาวตะวันตก ซึ่งตบแต่งหรูหราฟู่ฟ่า มีครีบระบายแพรวพราว เรือนมะนิลาหรือเรือนขนมปังขิงก็ดี ซึ่งผสมกันอันมีส่วนประกอบด้วยลายฉลุอย่างงดงาม เป็นเรือนที่ผู้คนส่วนใหญ่สนใจ และศิลปะลวดลายหรูหราเป็นลายแกะสลัก ฉลุแบบขนมปังขิง เช่น ตู้และเฟอร์นิเจอร์กับการตกแต่งภายใน นิยมสร้างในหมู่คหบดี ขุนนาง และชนชั้นกลางทั่วไป 

ลักษณะของบ้านทรงปั้นหยา

บ้านทรงปั้นหยาโบราณนั้น แต่เดิมได้รับอิทธิพล มาจากตะวันตกตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 ลักษณะเด่น ๆ คือจะมีหลังคา 4 ด้าน ส่วนทั้ง 4 ด้านนั้นจะลาดเอียง ต่อกันทุกด้านเหมือนพีระมิด แต่บ้านทรงปั้นหยานี้ จะไม่มีหน้าจั่ว ซึ่งอาจจะทำให้ระบายความร้อนได้ช้า จึงต้องใช้พื้นชายคาระบาย ความร้อนแทน ถ้าจะให้ดีต้องใช้วัสดุ ระบายความร้อน หรือฉนวนกันความร้อน ในการสร้างบ้านทรงปั้น หยาเพราะบ้านทรงนี้ มีจุดอ่อนเรื่องความร้อน

ข้อดีข้อเสียของบ้านทรงปั้นหยา

ก่อนจะสร้างบ้าน  แต่ละแบบก็ต้องดูข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละแบบ ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน มาดูทั้งข้อดีและข้อเสียของบ้านทรงปั้นปั้นหยากันเลย

ข้อดีของบ้านทรงปั้นหยา

ด้วยความที่โครงสร้างทั้ง 4 ด้านบรรจบกัน อยู่บนยอดหลังคา ทำให้ข้อดี ของบ้านทรงปั้นหยา คือความมั่นคง อีกทั้งชายหลังคาที่ยื่นยาวออกไป ทุกด้านทำให้กันแดด ลม และฝน ได้ดีมากกว่าบ้านแบบอื่น อย่างไรก็ตามตอนก่อสร้าง เพื่อน ๆ ต้องคุมงานและหาทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะบ้านทรงปั้นหยา มีจุดเชื่อมต่อของหลังคา มากกว่าบ้านทรงหน้าจั่ว หรือบ้านทรงอื่น ๆ จึงทำให้ต้องระวังเรื่องรอยต่อ และการรั่วซึม เป็นพิเศษ

ในส่วนอีกข้อที่ คิดว่าคงถูกใจเพื่อน ๆ เป็นพิเศษ คือ หลังคาทรงปั้นหยานั้น มีพื้นที่ให้ติดแผงโซลาร์เซลทุกด้าน ทำให้ไม่ว่าจะพระอาทิตย์ขึ้น หรือตกก็สามารถประหยัด พลังงานได้โดยใช้ไฟฟ้า จากแผงโซลาร์เซลแทนได้

ข้อเสียของบ้านทรงปั้นหยา

ข้อเสียของบ้านทรงปั้นหยา หลัก ๆ คือจะเป็น เรื่องการระบายความร้อน นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องงบ ในการก่อสร้าง ที่จะสูงกว่าบ้านแบบอื่น เพราะด้วยความที่มีรอยต่อเยอะ กว่าจึงต้องหาช่าง ที่มีประสบการณ์ ซึ่งเป็นที่แน่นอน ว่าราคางานจะสูงตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หากไม่ได้คุมงานให้ดี หรือได้ช่าง ที่มีประสบการณ์ไม่พอ อาจจะเกิดปัญหา น้ำรั่วซึมในฤดูฝนได้

ในส่วนของข้อเสีย เรื่องการระบาย  ความร้อนนั้น สามารถแก้ได้โดยการ เพิ่มช่องระบายอากาศ ตรงหลังคาและฝ้าแบบพิเศษ ที่สามารถระบาย อากาศได้ 

ศัพท์ที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านทรงปั้นหยาโบราณ

จันทัน: จันทันจะเป็นส่วน ที่พาดจากอะแส หรือบริเวณชายคาไปยังอกไก่ ที่รองรับแป จันทันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ จันทันหัวเสาและจันทันที่ ไม่ได้อยู่ตรงหัวเสา โดยที่จันทันนั้น จะวางถี่เป็นระยะ ๆ ทุก 1 เมตร อย่างไรก็ตาม ระยะการวางของจันทัน อาจแคบหรือกว้างกว่านี้ได้ โดยขึ้นอยู่ กับความยาว ของแปและน้ำหนัก ของกระเบื้องมุงหลังคา นั่นเองอะเส: อะเสจะเป็นคาน ที่อยู่ตรงชายคา โดยทำหน้าที่รับแรง และน้ำหนักจากโครงของหลังคา จำนวนของแผ่น อะเสจะขึ้นอยู่กับชนิดของหลังคา เช่น ถ้าเป็นบ้านทรงปั้นหยา จะมีอะเสทั้งหมด 4 ด้าน หากเป็นหลังคาอื่น ๆ จะมีอะเสน้อยลง ไม่ถึง 4 ด้าน เป็นต้น

อกไก่: อกไก่ทำหน้าที่เสมือนสันของหลังคาที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของจันทัน

ตะเฆ่:ตะเฆ่มีหน้าที่ รองรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยตะเฆ่นั้นมี 2 แบบ คือ ตะเฆ่สัน และตะเฆ่ราง ตะเฆ่สันจะอยู่ตรงส่วน สันของหลังคา ส่วนตะเฆ่ราง จะเป็นส่วนที่เป็นรอยต่อ ของหลังคาแต่ละด้าน และมักจะเป็น ที่ที่น้ำฝนไหลผ่าน อีกด้วย

สรุปท้ายบทความแบบบ้านทรงปั้นหยาโบราณ

อ่านมาถึงกันตรงนี้แล้วซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึง รัชกาลที่ 8 รูปทรงของบ้าน จึงเป็นการผสมผสานกลิ่นอาย ของบ้านทรงไทย ที่เน้นความโปร่งสบาย อ่อนช้อย ใช้วัสดุหลักจากไม้ในการก่อสร้าง และบ้านแบบตะวันตก ที่เน้นความแข็งแรงคงทน ด้วยวัสดุคอนกรีต และการตกแต่ง ที่ปราณีตบรรจง จนได้บ้านลูกผสาน ที่มีสวยงามแข็งแรงคง ทนขึ้นมา