แบบบ้านกระจก

แบบบ้านกระจก

แบบบ้านกระจก

แบบบ้านกระจก

แบบบ้านกระจก เป็นบ้านอีกหลัง ที่อยากนำเสนอให้ชมถึงความงดงามในการออกแบบเป็นอย่างมาก ด้วยทีมงานสถาปนิก Studio Archispektras ภายนอกใช้วัสดุกระจกเป็นองค์ประกอบสำคัญ สร้างไว้ในพื้นที่ธรรมชาติ ให้บรรยากาศที่ดูสงบสุขเป็นอย่างยิ่ง บริเวณพื้นบ้านโดยรอบ ปูพื้นอิฐบล็อกคอนกรีต

สำหรับทำทางเดิน โดยบริเวณทางเดินเข้าบ้าน ใช้อิฐบล็อกปูหญ้า โดยมีช่องสำหรับปลูกหญ้าได้ ส่วนพื้นที่ลานเดินเล่นหน้าบ้าน เป็นอิฐบล็อกปูพื้น ลักษณะก้อนอิฐเต็มก้อน รวมถึงพื้นที่ของสนามหญ้าสีเขียวรอบบ้าน บ้านหลังนี้ ใช้พื้นที่สำหรับอาคารทั้งหมด 395 ตารางเมตร read more : assetdata.land

แบบบ้านกระจกสไตล์ Loft Modern ภายในปูนคอนกรีต

แบบบ้านกระจก

ภายในบ้าน ตกแต่งเน้นสไตล์ลอฟท์ โชว์ความดิบเปลือยของวัสดุ พื้นบ้านเลือกใช้กระเบื้องแผ่นใหญ่ สีปูนขัดมัน ผนังห้อง และเพดาน เน้นลายคอนกรีตเดิม ให้สัมผัสที่มีเสน่ห์ ผสานความเท่อย่างมีสไตล์ การออกแบบบันไดบ้านก็เช่นกัน ให้ความรู้สึกโปร่งเบา ด้วยโครงสร้างบันไดเหล็กเปลือย ไม่มีราวจับ เป็นความอิสระในการออกแบบ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เน้นการออกแบบด้วยบิลท์อินไม้ ให้ความงดงามเข้ากันได้เป็นอย่างดีบ้านเกาหลีประยุกต์

ภายในบ้าน ยังมีสระว่ายน้ำเล็กๆ การสร้างสระว่ายน้ำภายในบ้าน ยังดีต่อการความสะอาด เพราะดูแลได้ง่ายกว่านอกบ้าน เนื่องด้วยมีหลังคา และผนังบดบังสิ่งสกปรกได้อย่างดี เพดานและผนัง ถูกเปิดโล่งเพื่อรับแสงแดดด้วยวัสดุกระจก ช่วยให้ลดความอับชื้นภายในได้

การออกแบบห้องนอน เน้นการดีไซน์ที่เป็นอิสระ ตกแต่งผนังอย่างแตกต่าง ด้วยการเพ้นท์ หากเป็นห้องนอนชั้นบน พื้นวัสดุ ใช้พื้นไม้ ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รวมถึงวิวธรรมชาติ ที่มองเห็นได้ จากภายในห้องนอนที่พักหลักร้อย เกาะล้าน

บ้านโครงสร้างเหล็กผนังกระจก

วัสดุที่ใช้สร้างบ้าน ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่จะประกอบเข้าเป็นผนัง พื้น หลังคา เท่านั้น แต่ละวัสดุยังมีส่วนสร้างฟังก์ชันการใช้งาน อารมณ์ และบรรยากาศของบ้านในภาพรวมด้วย อย่างเช่น บ้านที่ใช้ผนังหินก็ให้ความเป็นธรรมชาติของพื้นผิว บ้านไม้ตีเกล็ดนำเสนอความอบอุ่นที่เข้าถึงได้ง่าย ผนังก่ออิฐปิดทึบให้ความปกปิดเป็นส่วนตัว แต่ถ้าใครที่อยากเปิดเผยตัวตนก็ให้ “ความโปร่งใส” ของกระจก เป็นตัวกลางที่จะบอกเล่าเรื่องราวของบ้านได้เช่นกัน เหมือนบ้านนี้ที่ใช้กระจกเป็นวัสดุหลักเกือบทั้งหลัง ทำให้พื้นที่ผสานกลมกลืนไปกับทิวทัศน์ธรรมชาติที่มีอยู่และสร้างอิสระให้กับบ้านจนลืมไปว่ามีพื้นที่ไม่ถึง 100 ตารางเมตร

แบบบ้านกระจก

บ้านหลังนี้มีทั้งหมดสองชั้น พื้นที่ใช้สอย 84 ตารางเมตร (รวมสวนบนดาดฟ้า 29 ตารางเมตร)  บริเวณที่ตั้งตั้งอยู่บนท่าเรือแม่น้ำ Duong ในเขตชานเมืองของกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ล้อมรอบด้วยต้นไม้เก่าแก่มากมาย สถาปนิกจึงตัดสินใจสร้างโครงสร้างเหล็กสีดำห่อหุ้มด้วยผนังกระจก การออกแบบนี้ช่วยให้บ้านมี “สัมพันธ์” กับต้นไม้ใหญ่รอบ ๆ และพื้นที่ใช้งานนอกบ้าน ความโปร่งใสของตัวบ้านยังทำให้ดูเหมือนไม่มีรูปร่างที่ชัดเจนและละลายหายไปในมวลแมกไม้

จุดเด่นประการหนึ่งในกระบวนการก่อสร้างบ้านหลังนี้ คือ บางส่วนของผนังบ้านเลือกใช้วัสดุที่มีลักษณะเป็นแซนวิช (Sandwich) เป็นแผ่นเหล็ก 2 แผ่นประกบแผ่นฉนวนตรงกลาง  เพื่อสร้างฉนวนป้องกันความร้อน ความชื้น และฉนวนกันเสียง และกระจกลามิเนตที่จะมีช่องว่างช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างชั้นของวัสดุป้องกันการถ่ายเทความร้อนและการนำความชื้นโดยตรง ทำให้บ้านมีคุณสมบัติกันความร้อน กักเก็บความเย็น กันไฟ ถึงจะเป็นกระจกก็แข็งแรงทนทานและไม่ร้อน

แบบบ้านกระจก

สำหรับชั้นล่างของบ้านจะประกอบด้วยฟังก์ชันใช้งานสาธารณะ อาทิ ครัว โต๊ะทานข้าว และมุมนั่งเล่นที่ไม่มีผนังกั้น ทำให้เกิดสเปซกว้าง ๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันได้หมดอย่างลื่นไหล บริเวณผนังที่เป็นกระจกเปิดผนังบ้านให้มีอสระทั้งในแง่ของพื้นที่และสายตาจนบ้านดูไร้ผนังในบางจุด ทำให้ขณะใช้ชีวิตประจำวัน หรือกำลังง่วนทำครัวก็ยังได้รับทัศนียภาพอันแสนสดชื่นของแม่น้ำ เหมือนบ้านกับธรรมชาติต่อเนื่องเป็นส่วนเดียวกัน ลืมไปเลยว่าบ้านนี้เป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร

ส่วนชั้นสองจะเป็นพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหวน้อยและเป็นส่วนตัวขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนอย่างสงบ จัดเป็นห้องนอน ห้องน้ำ ที่ดูเปิดเปลือยด้วยผนังกระจกใสรอบด้าน เหมือนได้แช่ตัวในท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งการจะออกแบบห้องน้ำรูปแบบนี้ได้ต้องพิจารณามุมมองรอบด้านแล้วว่ามีปราการปกป้องความเป็นส่วนตัวจากบุคคลภายนอกที่อาจทะลุเข้ามา

แบบบ้านกระจก

ผนังกระจกของบ้านนี้กินพื้นที่กว่า 75% เป็นแนวคิดที่ชัดเจนของทั้งสถาปนิกและเจ้าของบ้าน ที่ต้องการเชื่อมต่อมุมมองบ้านแบบ open house สามารถมองเห็นระเบียง ลานหน้าบ้าน ต้นไม้ ผืนน้ำข้างนอกได้จากทุกทิศทาง บ้านโปร่งแสงนี้อาจทำให้หลายคนกลัวว่าอาคารจะทนต่อแสงแดดและความร้อนได้อย่างไร

คำตอบอยู่ที่การใช้แนวต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ทำหน้าที่เป็น “ผิวหนัง” ให้กับบ้านและลดรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ ต้องขอบคุณลมจากแม่น้ำและระบบผนังที่เลื่อนได้อย่างอิสระ ทำให้บ้านมีการหมุนเวียนอากาศที่ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้สถาปนิกยังไม่ลืมที่จะใส่องค์ประกอบช่วยปกป้องกระจกหากกิ่งไม้ได้รับความเสียหายเมื่อมีลมพายุ

การสร้างบ้านด้วยผนังกระจกจะมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ อาทิ การสะสมความร้อน ความแข็งแรง ความโปร่งใสที่อาจทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวไม่ปลอดภัย ซึ่งสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการ เลือกคุณสมบัติของกระจกที่มีความหนาและแข็งแรง อย่างเช่น กระจกนิรภัย กระจกลามิเนต สะท้อนแสงได้ดี มีฟิล์มกรองแสง ซึ่งช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคาร หรอืการปลูกต้นไม้สูงๆ เป็นแนวบังสายตา การใส่ผ้าม่านที่เหมาะกับดีไซน์ของบ้านเป็นต้น